ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทเผชิญแรงขายช่วงแรก และแข็งค่าขึ้นกลางสัปดาห์ ก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศเนื่องในเทศกาลสงกรานต์
ค่าเงินดอลลาร์ผันผวนอ่อนค่าในคืนวันพฤหัส หลังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นข้อมูลเงินเฟ้อที่สหรัฐเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)อาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น
ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันจันทร์ "อ่อนค่า""คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในคืนวันศุกร์ หลังจากการประกาศตัวเลขดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความเห็นสนับสนุนการคุมเข้มนโยบายการเงิน
ราคาทองวันนี้ (15 เม.ย.) ร่วง 250 บาท ตามตลาดนอก ขณะค่าบาทอ่อนทะลุ 34
หุ้นธนาคารเริ่มขึ้น XD ปันผล 17 เม.ย. คาดกดดันตลาดฯ ระวังความผันผวน
นักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักมากขึ้นต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือน พ.ค. แม้มีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อต่ำกว่าคาด
สำหรับปัจจัยด้าน Fund flow นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นสุทธิเมื่อวันพุธก่อนวันหยุดยาวที่ 502 ล้านบาท ขณะที่มียอดขายพันธบัตรสุทธิ 1010 ล้านบาท ตามลำดับ.
แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ในช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวลง หลังราคาทองคำย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับแถว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินเคลื่อนไหวผันผวนไปตามมุมมองของนักลงทุนต่อแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด โดยล่าสุดผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่า เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้อีก 1 ครั้ง และอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% ได้นานกว่าคาด
แม้ว่ารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจมีไม่มากนักในสัปดาห์นี้ แต่ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (S&P Manufacturing & Services PMIs) โดยตลาดประเมินว่า ผลกระทบจากปัญหาสภาพคล่องของระบบธนาคารในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงผลกระทบจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด อาจกดดันให้ภาคการผลิตยังคงหดตัว โดยดูจากดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนเมษายน ที่อาจลดลงสู่ระดับ 49 จุด (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว)
ทั้งนี้ แม้ภาวะเงินเฟ้อสูงอาจกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้คนในสหรัฐฯ แต่โดยรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการบริการจะยังคงได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งและตึงตัว ทำให้ดัชนี PMI ภาคการบริการอาจอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด
นอกจากนี้ นักลงทุนรอรายงานภาวะเศรษฐกิจโดยบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book) เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นกัน รวมถึงความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดในอนาคต และรอรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า อาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า จากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติกว่า 300 ล้านดอลลาร์ และโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ส่วน ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ อาจเริ่มกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยมากขึ้นได้ หากตลาดกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทจะไม่ได้อ่อนค่าไปมากนัก จนทะลุโซนแนวต้านแถว 34.50-34.60 บาทต่อดอลลาร์ฃ