เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เเถลงการณ์สมาคมฯ ว่า
ตามที่ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า เป็นการเลือกปฏิบัติและอดีตนายกทักษิณ มีอภิสิทธิ์ มากกว่าผู้ถูกจับรายอื่น นั้น
ตนขอเสนอความเห็นทางกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับไว้ ดังนี้
แพทย์ เผยอาการป่วย "ทักษิณ" ยังน่าเป็นห่วง
"วิษณุ" ชี้ "ทักษิณ" เข้า รพ.เกิดจากสภาพจิตใจ ความดันพุ่งสูง คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
1. การเดินทางกลับประเทศไทยครั้งนี้ อดีตนายกทักษิณตัดสินใจเดินทางกลับด้วยตนเอง จึงไม่มีเจตนาจะหลบหนีและมิได้ขัดขวางการจับกุม ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมิได้ใช้เครื่องพันธนาการจึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า “ ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการจับนั้น “
2. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอนุญาตให้อดีตนายกทักษิณได้พบปะกับญาติและประชาชนที่เดินทางมาต้อนรับ เป็นการปฏิบัติตามมาตรา 83 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ ถ้าผู้ถูกจับมีความประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม ซึ่งไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี “
3. ในการควบคุมตัวอดีตนายกทักษิณไปศาลและเรือนจำโดยมีขบวนรถยนต์คุ้มกันหลายคัน นั้น เป็นไปตามมาตรา 83 วรรคแรก และมาตรการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากอดีตนายกทักษิณเป็นนักการเมืองที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้าน อีกทั้งวันดังกล่าวมีผู้ไปต้อนรับเป็นจำนวนมาก การที่เจ้าหน้าที่ใช้ขบวนรถยนต์รักษาความปลอดภัยหลายคันจึงสมควรแก่กรณี
ดังนั้นการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจับอดีตนายกทักษิณ เพื่อนำตัวไปศาลและเรือนจำ จึงชอบด้วยวิธีการจับตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทุกประการ มิได้เป็นการเลือกปฏิบัติหรือให้สิทธิ แก่อดีตนายกเกินเลยจากที่กฎหมายบัญญัติไว้