ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่าดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่ชะลอตัว แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้
ขณะที่ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 53.5% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. และให้น้ำหนัก 46.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25%
ค่าเงินบาท "อ่อนค่า" ในช่วงเปิดตลาดเช้านี้คำพูดจาก เว็บสล็อต
ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนี PCE ทั่วไป รวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 5.0% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่คาดที่ระดับ 5.1% และชะลอตัวจากระดับ 5.3% ในเดือนม.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. ถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ
แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยง และผู้ส่งออก ขายเงินตราต่างประเทศที่ระดับเหนือ 34.50
ด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ความกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคารคลี่คลายลง ได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) มากขึ้น
ในสัปดาห์นี้ ตลาดรอรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ข้อมูลการจ้างงาน ส่วนในไทย รอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ และควรติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
สหรัฐฯจะรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือนมีนาคม โดยเฉพาะ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) โดยตลาดคาดว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ นั้นยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว สะท้อนผ่านยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่อาจเพิ่มขึ้น 2.4 แสนราย ส่วนยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTs Job Openings) อาจลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 10.4 ล้านตำแหน่ง ซึ่งคิดเป็นเกือบ 1.8 เท่าของจำนวนผู้ว่างงาน ชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงตึงตัวอยู่ ซึ่งอาจทำให้ อัตราการเติบโตของค่าจ้างยังคงสูงราว 4.3%
นอกจากนี้ นักลงทุนรอรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (ISM Mfg. & Services PMIs) เดือนมีนาคม โดยตลาดมองว่า ภาคการบริการจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ชี้จากดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ ที่อาจอยู่ที่ระดับ 54.5 จุด (ดัชนีมากกว่า 0 หมายถึง ภาวะขยายตัว) ขณะที่ภาคการผลิตอาจยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 47.5 จุด
หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาคาดหวังว่า เฟดยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดในอนาคต
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาทอาจเคลื่อนไหวไร้ทิศทางในช่วงก่อนตลาดรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯโดยสัญญาณเชิงเทคนิคทั้ง RSI และ MACD ยังชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways โดยมีเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน (แถว 34.30 บาทต่อดอลลาร์) เป็นโซนแนวต้านแรกในช่วงนี้ แต่หากเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านและยืนเหนือระดับ 34.40 บาทต่อดอลลาร์ได้ ก็อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ขึ้นมาเคลื่อนไหวในโซน 34.50-34.70 บาทต่อดอลลาร์