วันที่ 22 ม.ค. 2567 ในวงเสวนาการปฏิรูปตำรวจ และกระบวนการยุติธรรมไทย แบบทำน้อยได้มาก และเห็นผลเร็ว กรณีศึกษาลุงเปี๊ยก โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพให้เห็นกรณีลุงเปี๊ยก สะท้อนให้เป็นปัญหาของตำรวจ และกระบวนการยุติธรรมว่า ตำรวจไม่เคารพสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 20 ที่ระบุว่า ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาไม่มีความผิด จนกว่าศาลจะพิพากษา
หลานลุงเปี๊ยก ร้องสอบ ตร.เอี่ยวผิด พ.ร.บ.อุ้มหาย
อัยการ เผย ข้อกฎหมายเคส "ลุงเปี๊ยก" เข้าอำนาจ พ.ร.บ.อุ้มหายฯ หรือไม่
ตำรวจละเมิดกฎหมายพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยใช้วิธีการทรมานให้ลุงเปี๊ยกรับสารภาพ จนถึงการนำตัวลุงเปี๊ยกไปฝากขังในเรือนจำ ซึ่งขัดต่อหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ ขณะเดียวกัน การที่มีการออกหมายขังให้โดยไม่ได้มีการตั้งคำถาม หรือตรวจสอบการใช้อำนาจของตำรวจ แสดงให้เห็นถึงการทำงานของตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ต่างทำงาน ไร้การบูรณาการ
มีข้อเสนอจากผู้ช่วยศาตราจารย์ปริญญา ซึ่งจะเป็นกลไก ที่จะช่วยไม่ทำให้เกิดกรณีแบบลุงเปี๊ยกซ้ำอีก เช่น เปลี่ยนตำรวจให้ใช้ประชาชนเป็นที่ตั้ง และต้องเคารพกฎหมาย เสนอยกเลิกการขังผู้ต้องหา และจำเลยในคุก เนื่องจากหากพิจารณาตามหลักรัฐธรรมนูญแล้ว คุกมีไว้ขังผู้ต้องหาโทษเด็ดขาด ที่ศาลพิพากษาแล้วเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงพบว่า มีการนำตัวผู้ต้องหาระหว่างรอพิจารณาคดีมาขังรวมด้วย จึงมองว่า ควรใช้ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าการคุมขังนอกเรือนจำมาใช้แทน และส่วนสุดท้ายคือ กระบวนการยุติธรรมต้องมีการบูรณาการ ตรวจสอบ และประเมินผล ตั้งแต่ต้นทาง และปลายทางของกระบวนการยุติธรรม
เปิดเงื่อนไข กาตาร์ พบ จีน ส่งผลต่อทีมไทย ลุ้นเข้ารอบ 16 ทีมเอเชียน คัพ 2023 คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
สรุปอันดับโลกวอลเลย์บอลหญิงไทย ก่อนลุยศึกเนชั่นส์ ลีก 2024
อ.ปริญญา ซัดตำรวจจับแพะลุงเปี๊ยก สะท้อนระบบยุติธรรม